กรุณารอสักครู่่
ติดต่อสอบถาม โทร.1491 หรือ 02-908-8888
Advice IT Infinite Public Company Limited

ระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับคอมฯทุกชนิดแบบใหม่ เสียบปุ๊ปใช้ได้ปั๊ป ไม่ต้องลงซอฟแวร์ใดๆทั้งสิ้น

Japan’s National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ร่วมกับ Control System Security Center (CSSC) ได้เปิดเผยว่าตนกำลังพัฒนาอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยสำหรับคอมพิวเตอร์ในทุกๆรูปแบบ ที่ใช้งานง่ายและสะดวกสบายอยู่ในขณะนี้

อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ภายนอก

ซึ่งส่วนใหญ่นั้นการรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์มักจะเป็นในรูปแบบของซอฟแวร์เสียมาก ส่งผลให้ผู้ใช้จำเป็นต้องติดตั้ง และเข้าถึงทำให้เกิดความยุ่งยาก แต่สำหรับแนวคิดที่ AIST กำลังพัฒนาและวิจัยอยู่นั้นแตกต่างออกไป เป็นรูปแบบของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ภายนอก

ออกแบบมาให้รองรับกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย

โดยอุปกรณ์ที่ได้วิจัยออกมาชิ้นแรกนั้นก็จะเป็น Security Barrier Device (SBD) ที่มีในลักษณะแบบ FPGA  หรือ Plug-and-play security card มาพร้อมด้วยฟังก์ชั่นในการควบคุมการเข้าถึงตัวเก็บข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ ออกแบบมาให้รองรับกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ซอฟแวร์ในการควบคุม รวมไปถึงไม่มีข้อจำกัดใดๆกับทุกๆระบบปฏิบัติการ เพียงแค่เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์แค่นี้เจ้านี่ก็สามารถทำงานได้แล้ว

ทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับ Disk management program

หลักการทำงานของ SBD นั้นจะทำงานโดยการตรวจสอบ Data sectors ภายในฮาร์ดดิสก์ว่าตรงกับข้อมูลที่มีการอ่านหรือเขียนไปแล้ว และสามารถที่จะปฏิเสธการเข้าถึงทันที่ต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถจัดสรรการเข้าถึง Sectors ต่างๆได้เช่นเดียวกับโปรแกรม Disk management program โดยถ้าอุปกรณ์ต่อพ่วงตรวจพบการพยายามเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต มันก็จะตัดการเชื่อมต่อกับ Network ทุกการเชื่อมต่อให้ในทันที นอกจากนี้เจ้า SBD ยังอุ่นใจได้ว่ามันไม่มีความเสี่ยงใดๆในเคสของพื้นที่ข้อมูลต่างๆ ที่ติดมัลแวร์ หรือมีการใช้งานที่ผิดพลาด รวมทั้งในเรื่องของ Badsector อีกด้วย

ซี่งในอนาคตนักวิจัย AIST ก็วางแผนที่จะวิจัยให้เจ้า SBD ให้มีขนาดที่เล็กลงเทียบเท่ากับการ์ดจอพื้นๆทั่วไป และจะขยายการเชื่อมต่อต่างๆให้ครบทุกพอร์ตที่สามารถโอนถ่ายข้อมูล ทั้งการเขียนและอ่านได้ รวมไปถึงตอนนี้ SBD ก็ยังรองรับแค่ระบบแฟ้ม NTFS ในตอนนี้ แต่ในอนาคตนักวิจัยก็วางแผพัฒนาต่อยอดให้รองรับระบบแฟ้ม FAT และ EXT ด้วย

ที่มา : notebookspec.com